แหล่งข้อมูล: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโทรอนโต
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
วิกฤต Covid-19 ได้ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก แต่มากไปกว่านั้น วิกฤตครั้งนี้ได้ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้คนในการใช้ชีวิตประจำวัน นิสัยการกินดื่ม นิสัยการเตรียมอาหาร (คนส่วนใหญ่หันมาปรุงอาหารเองที่บ้านมากขึ้น) การจับจ่ายเลือกซื้อสินค้า ที่คนส่วนใหญ่ใส่ใจ ต้องการมีสุขภาพที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ทุกวันนี้ ผู้บริโภคได้มองหาสินค้าอาหารที่มากไปกว่าการเป็นอาหาร ที่สินค้าเหล่านั้นจะต้องมีคุณประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพ Physical Health (กายภาพ) และ Mental Health (สุขภาพทางจิตใจ) ไปพร้อมๆ กันด้วย โดยเทรนด์ที่สำคัญที่น่าจับตาสรุปได้ ดังนี้
1) Functional Foods On The Rise: เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภด ที่ให้ความสำคัญต่อสุขภาพมากขึ้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สินค้าอาหารได้มีการให้ความสำคัญถึงคุณประโยชน์ที่ได้มีการใช้โฆษณา Keyword ต่างๆ อาทิ Vitamin, Probiotics (สารที่ช่วยระบบการขับถ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหารของร่างกายให้ดีขึ้น, Support Immune Systems (เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย), Soothe Stress (ลดอาการเครียดของร่างกาย) อาทิ Pepsi ได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ชื่อว่า "Driftwell" ที่เป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของสาร L-Theanine และ Amino Acid ที่ช่วยในเรื่องการผ่อนคลาย (จากความเครียด) ปรับมู้ด อารมณ์ ที่ช่วยในเรื่อง "Mental Health" ที่อ้างว่าช่วยให้นอนหลับสบายมากขึ้น
2) Plant Based Option Will Expand: นับตั้งแต่ปี 2562 ที่ยอดจำหน่ายเนื้อเทียมโปรตีน (Plant-Based Protien) เริ่มเป็นที่นิยมในภูมิภาคอเมริกาเหนีอ โดยสินค้าดังกล่าวเริ่มจากกลุ่มเล็กๆ ที่เป็นตลาดเฉพาะ "Niche Market" แต่ทุกวันนี้กระแสความนิยมได้ผลักให้สินค้าดังกล่าวเริ่มเข้าสู่ตลาดหลัก "Mainstream" ที่ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป โดยได้เริ่มวางจำหน่ายเนื้อเทียมโปรตีน ที่ผู้บริโภคหันมาบริโภค หันมาสนใจในการบริโภคผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช ฯลฯ ในขณะที่ลดการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม (Diary Product) เห็นได้จากได้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในท้องตลาดที่เป็นเครื่องดื่มผลิตจากธัญพืชถั่วต่าง อาทิ Almond Drink, Chickpea Drink, Macadamie Drink (ลดการดื่มนมวัว) เป็นต้น
3) Climate Friendly Meals on Menus: ผู้บริโภคเริ่มเรียนรู้ว่าโรงงานผลิตอาหารต่างๆนั้น เป็นหนึ่งในต้นเหตุที่สำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Emission) ที่ก่อให้เหตุภาวะ "Climate Change" เป็นผลมาจากระบบการจัดการ ขั้นตอนการผลิตของโรงงานที่ไม่ได้มีการควบคุม หรือให้ความสำคัญ ทำให้ส่งผลกระทบความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ อาทิ การปล่อยมลพิษ การปล่อยก๊าซคาร์บอน กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ได้ให้ "ความสำคัญ" ที่มากไปกว่าตัวสินค้า ทีจะคำนึงถึงแหล่งวัตฤดิบ ขั้นตอนการผลิต ผลกระทบในด้านอื่นๆ ที่รวมไปถึงการใช้แรงงานที่เป็นธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความโปร่งใสของขั้นตอนการผลิตที่สามารถตรวจสอบได้ ทำให้คำว่าความยั่งยืน (Sustaintability) ได้กลายเป็น "Keyword" หลักที่สำคัญของสินค้าในโลกยุคใหม่ อาทิ สินค้าขนมปังจากบริษัท Panera Bread ได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มีการใส่ฉลากสินค้า "Cool Food Meals" ซึ่งมีการระบุว่าเป็นสินค้า Low Carbon Footprint ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงาน WRI (World Resources Institute - www.wri.org) ซึ่งเป็นองค์กรสากลที่ร่วมกับสถาบันต่างๆ ตั้งแต่ร้านอาหาร โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยและรัฐบาลท้องถิ่นต่างๆ ในการขับเคลื่อนแนวคิดสนับสนุน สินค้าที่เป็น Cool Food Pledge ที่รณรงค์การลดผลกระทบจาก Climate Change
4) Appreciation For Family Meals: หนึ่งในผลกระทบของการแพร่ระบาด Covid-19 ที่ทำให้คนส่านใหญ่อยู่บ้านมากขึ้น มีโอกาสรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัวมากขึ้น ซึ่งผลสำรวจจากหน่วยงาน Food Marketing Institute พบว่า 71% ของคนส่วนใหญ่รู้สึกว่าการรับประทานอาหารร่วมกันนั้น ทำให้ได้ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวดีขึ้น นอกจากนี้ 40% ของผู้บริโภคหันมารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ได้มีการรับประทานผัก ผลไม้มากขึ้น และลดการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ (Unhealthy Food) ซึ่งนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่า สินค้าในอนาคตนั้น การนำเสนอเมนูอาหารพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) หรืออาหารพร้อมปรุง (Ready to cook) ใหม่ๆ ควรมีรูปแบบที่แตกต่าง หลากหลายมากขึ้น ซึ่งในอดีต สินค้าอาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานส่วนใหญ่นั้นจะเป็นอาหารที่มี Portion สำหรับคนเดียวรับประทาน (Indiviual Serying Size) แต่ในอนาคตอาจต้องปรับให้เป็น Family Size ที่มีขนาดใหญ่เหมาะสำหรับคนในครอบครัว ส่งผลให้ตลาดสินค้าได้เริ่มปรับเข้าไปสู่เทรนด์ดังกล่าวและมีรูปแบบสินค้าที่มีทางเลือกต่างหลากหลายมากขึ้น
ความเห็นสำนักงานฯ
สถานการณ์ไวรัส Covid-19 ได้เป็นตัวเร่งให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค โดยกระแสที่เห็นได้ชัด ได้แก่ การรักษาห่วงใยสุขภาพมากขึ้น พิถีพิถันในการเลือกซื้อ เลือกบริโภคสินค้าอาหารมากขึ้น ที่ไม่ใช่แค่ในเรื่องของคุณประโยชน์ และยังต้องตอบสนองคุณค่าทางจิตใจอีกด้วย อาทิ ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กระแสรักษ์โลก การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ทุกวันนี้ไม่ใช่เป็นแค่แฟชั่นค่านิยมชั่วคราวอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อ "อุดมคติ" โดยเฉพาะกลุ่มคนหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ ที่มีทัศนคติ ความเชื่อ และพฤติกรรมที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อน ที่ผู้ผลิตในประเทศไทยไม่ควรมองข้ามความสำคัญดังกล่าว ซึ่งในอนาคตการแข่งขันของสินค้าจะไม่ใช่มาจาก "คุณสมบัติ" "สรรพคุณ" ของตัวสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่การแข่งขันจะมาจากหลายบริบท ส่วนประกอบอื่นๆของสินค้า ที่ผู้คนส่วนใหญ่ยอมที่จะจ่ายเงินเพิ่ม หากสินค้าเหล่านั้นทำให้เค้ารู้สึกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาโลก การเป็นประชากรที่ดีต่อโลก การรับผิดชอบและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรติดตามกระแสสังคม ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และพัฒนาปรับกลยุทธ์สินค้าให้เป็นไปตามกระแสที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในช่วง Covid-19 ที่การแข่งขันจะมากไปกว่าตัวสินค้าในอนาคต